ทำความรู้จักกับระบบกลไกของนาฬิกาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานอันน่าสนใจ
นาฬิกาไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือบอกเวลาเท่านั้น แต่นาฬิกายังคงเป็นเครื่องประดับที่สวยงามและเปรียบเหมือนชิ้นงานศิลปะที่มีคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย ส่งผลให้ไม่ว่ากี่ยุคสมัย ก็ยังได้รับความนิยมอยู่เสมอ
ดังนั้น เพื่อจะเลือกนาฬิกาที่เหมาะสมกับการใช้งานและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การทำความเข้าใจในเรื่องระบบนาฬิกา หรือประเภทของนาฬิกา รวมไปถึงกลไกนาฬิกาข้อมือที่ควรรู้นั้น ไม่เพียงจะทำให้ผู้สวมใส่ได้นาฬิกาที่สวยงาม แต่ยังได้นาฬิกาที่เหมาะสมกับการใช้งานในทุกๆ วันอีกด้วย
สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องนาฬิกา หรือกำลังเลือกซื้อนาฬิกาอยู่นั้น การทำความรู้จักกับระบบนาฬิกาและประเภทของระบบที่แตกต่างกันก็จะช่วยให้เข้าใจถึงลักษณะและข้อดีของนาฬิกาในแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นนาฬิการะบบ Quartz ระบบ Analog ไปจนถึงนาฬิกาประเภทอื่นๆ ซึ่งในบทความนี้จึงชวนมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับระบบเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น
เริ่มต้นกันที่นาฬิกา Quartz ซึ่งเป็นนาฬิกาที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากเป็นนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้แบตเตอรี่ในการทำงานเพื่อให้นาฬิกาเดินเวลาได้ โดยระบบนาฬิกา Quartz จะมีข้อดี คือ ความแม่นยำสูง จึงทำให้นาฬิกามีความเที่ยงตรง ทั้งยังสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อหมดอายุการใช้งานได้อีกด้วย นอกจากนั้น ในส่วนของนาฬิกาข้อมือยังแบ่งการแสดงเวลาออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ตัวหมุนเข็มนาฬิกาเพื่อให้เดินบอกเวลา และแบบแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิทัลบนหน้าปัดแบบ LCD หรือ LED
นาฬิการะบบ Analog หรือนาฬิการะบบอนาล็อก คือ นาฬิกาแบบดั้งเดิมที่มีการแสดงผลในรูปแบบของเข็มบอกชั่วโมง เข็มนาที และเข็มวินาที เพื่อแสดงให้เห็นถึงความละเอียดและความแม่นยำสูง ซึ่งเข็มบอกเวลาที่คนนิยมส่วนใหญ่ คือ เข็มตัวเลขแบบอารบิกและอักษรโรมัน โดยข้อดีของนาฬิกาชนิดนี้ คือ ใช้งานง่ายและได้หน้าปัดที่มีความสวยงาม บ้างก็มีการประดับตกแต่งอย่างประณีต ให้ความรู้สึกเรียบหรูขณะสวมใส่
สำหรับนาฬิการะบบ Mechanical หรือระบบนาฬิกาแบบจักรกลนั้น เป็นนาฬิกาที่ต้องอาศัยการไขลานสปริงของนาฬิกาเพื่อให้เกิดการทำงานและบอกเวลากับผู้ใช้งานได้ โดยจุดเด่นของนาฬิกาประเภทนี้ คือ ความสวยงาม เนื่องจากกลไกนาฬิกาข้อมือรูปแบบนี้มีความสลับซับซ้อนไปพร้อมๆ กับมีความเที่ยงตรงสูง โดยเฉพาะ นาฬิกา Swiss Made ที่ต้องอาศัยความแม่นยำของช่างฝีมือในการประกอบนาฬิกา ด้วยเหตุนี้ นาฬิกาที่มีระบบ Mechanical จึงเหมาะทั้งสำหรับสวมใส่ในทุกวันและเหมาะกับการสะสมและเพื่อการลงทุนเช่นกัน
เป็นระบบนาฬิกาที่อาศัยการปรับตั้งค่าจากผู้ใช้เพียงเล็กน้อย และสามารถบอกเวลาบนหน้าปัดได้อย่างแม่นยำไม่แพ้นาฬิกาประเภทอื่นๆ โดยวิธีการตั้งค่าจะเริ่มต้นจากการดึงสปริงขึ้นเพื่อสะสมพลังงาน ก่อนที่กลไกของของนาฬิกาจะทำงานเพื่อบอกเวลา อีกทั้งยังมีโรเตอร์ (Rotor) ซึ่งเป็นตัวกักเก็บพลังงานสำรองเพื่อให้สามารถใช้งานนาฬิกาได้ยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่ง ระบบนาฬิกาแบบ Chronograph ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในนาฬิกาอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ระบบ Manual Winding ด้วยเช่นกัน
นาฬิการะบบ Automatic จะมีตัวโรเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยขึ้นลานนาฬิกาให้สามารถใช้งานได้ทันทีที่เกิดการเคลื่อนไหวจากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินหรือการแกว่งข้อมือ โดยข้อดีของนาฬิกาชนิดนี้ คือ การที่ผู้สวมใส่ไม่ต้องดึงปุ่มไขลานนาฬิกา หรือที่เรียกว่า เม็ดมะยม เพื่อไขลานสำรองพลังงาน อีกทั้งยังไม่ต้องอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่อย่างระบบนาฬิกาแบบอื่น ประกอบกับความแข็งแรง ทนทาน จึงมีอายุใช้งานที่ยาวนาน และส่งซ่อมได้เมื่อเกิดปัญหาการใช้งาน จึงทำให้ระบบนาฬิกานี้ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้ระบบนาฬิกาประเภทอื่นๆ
ปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นระบบนาฬิกาใดๆ ก็ตาม ตัวกลไกลนาฬิกาทั้งแบบข้อมือหรือแบบอื่นๆ จะอาศัยการทำงานของเฟือง ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ และพลังงานเพื่อให้เกิดการทำงานและบอกเวลาได้อย่างแม่นยำ แบรนด์นาฬิกาหลายๆ ยี่ห้อจึงมีการพัฒนากลไกนาฬิกาขึ้นมาเอง (In house production) หรือ การผลิตภายในสถานที่ของแบรนด์โดยตรง เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเก็บรักษาความลับการผลิตนาฬิกาในแต่ละเรือนซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของแบรนด์นั้นๆ ไว้
ตัวอย่างแบรนด์ที่มีกลไกนาฬิกาเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ ได้แก่ การสร้างกลไกลนาฬิกาข้อมือแบบทูร์บิญอง (Tourbillon) ซึ่งถือเป็นกลไกนาฬิกาที่เที่ยงตรงและได้รับการยอมรับว่าเป็นนาฬิกาที่มีความแม่นยำที่สุดในโลก
โดยส่วนใหญ่แล้ว ในนาฬิกาหนึ่งเรือนมักจะมีส่วนประกอบหลัก ดังนี้
เมนสปริง (Mainspring) เป็นชิ้นส่วนหลักของกลไกนาฬิกาที่ใช้ในการขับเคลื่อนกลไกการทำงานต่างๆ และเป็นแหล่งเก็บพลังงานอีกด้วย
กลุ่มล้อเฟือง (Gear Train) เป็นชุดเฟืองที่อาศัยกันทำงานผ่านแรงส่งเพื่อใช้ในการหมุนและเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำงานของเมนสปริงเพื่อให้เข็มนาฬิกาเคลื่อนที่ต่อไปได้
ล้อกระเดื่อง (Escapement) เป็นชิ้นส่วนหนึ่งในกลไกลนาฬิกาข้อมืออาศัยการงานร่วมกับเมนสปริงและเดือยในนาฬิกาเพื่อให้นาฬิกาสามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรง
จักรกรอก (Balance wheel) เป็นส่วนที่คอยควบคุมเข็มชั่วโมง เข็มนาที และเข็มวินาทีของนาฬิกาให้ทำงานอย่างคงที่และแม่นยำ
เพชรพลอย (Jewels) เป็นส่วนที่จะมีบนกลไกนาฬิกาหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักจะใช้ในการตกแต่งกลไกภายในนาฬิกาให้ออกมาสวยงาม โดยเฉพาะนาฬิกาข้อมือที่ด้านหลังในหลายๆ แบรนด์มีการโชว์กลไกแบบเปลือยให้เห็นการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง
นาฬิกาที่มีระบบและกลไกลนาฬิกาข้อมือช่วยอำนวยความสะดวก เปรียบเสมือนเพื่อนคู่ใจในทุกการเดินทางของผู้สวมใส่ด้วยฟังก์ชันการใช้งานในแบบต่างๆ ที่น่าสนใจและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในแต่ละแบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งฟังก์ชันของนาฬิกาข้อมือแบบต่างๆ ที่ว่านั้น มีดังต่อไปนี้
นอกจากเวลาในหนึ่งวันแล้ว ยังสามารถรับรู้ทุกช่วงเวลาที่ต้องการด้วยระบบนาฬิกาที่มีฟังก์ชันบอกวัน เดือน และปี ได้ด้วยเช่นกัน โดยสามารถแบ่งฟังก์ชันได้เป็น 2 ส่วน คือ Annual Calendar หรือ ปฏิทินรายปี ที่ต้องอาศัยการปรับเวลา 1 ครั้งต่อปีในช่วงกุมภาพันธ์ที่มี 28 วัน และ 29 วัน ในทุกๆ 4 ปี และอีกส่วน คือ Perpetual Calendar หรือ ฟังก์ชันถาวร ที่สามารถบอกเวลาได้อย่างแม่นยำและไม่จำเป็นต้องปรับเวลาใหม่ทุกๆ ปี อีกต่อไป เหมาะสำหรับนักธุรกิจ ผู้บริหาร และการงานหรืออาชีพที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของเวลาอย่างยิ่ง
นาฬิการะบบ Chronograph คือชื่อที่ใช้ในการเรียกนาฬิกาที่มีฟังก์ชันจับเวลานี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหน้าปัดนาฬิกาฟังก์ชันนี้จะประกอบด้วย หน้าปัดวงย่อยอีก 3 วง แบ่งเป็นหน้าปัดแสดงผลชั่วโมง นาที และวินาทีให้อ่านค่าเวลาได้อย่างง่ายๆ เหมาะสำหรับการจับเวลาเพื่อแข่งขันหรือบันทึกช่วงเวลาจากการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
ฟังก์ชันนาฬิกาที่บ่งบอกช่วงเวลาด้วยฟังก์ชันการใช้งานแบบ Moonphase ที่สามารถบอกข้างขึ้นข้างแรม และรอบการหมุนของพระจันทร์ในรอบเดือนนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนาฬิกาที่มีฟังก์ชันดังกล่าว มักจะมีกลไกลนาฬิกาข้อมือที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็มีการประดับตกแต่งที่สวยงาม อาศัยช่างฝีมือที่มีความประณีต เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบนาฬิกาที่มีระบบการทำงานซับซ้อน มีความสนใจในเรื่องดาราศาสตร์ หรือทำงาน ทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยข้างขึ้นข้างแรมเป็นตัวบอกเวลา เป็นต้น
เป็นฟังก์ชันนาฬิกาที่ตอบโจทย์การเดินทางหรือกิจกรรมที่อาศัยการดูเวลาหลายไทม์โซน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถรับรู้ช่วงเวลาในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการได้ โดยระบบนาฬิกามีฟังก์ชันดังกล่าวจะบอกช่วงเวลาได้ตั้งแต่ 2 ไทม์โซน เป็นจนถึง 24 ไทม์โซน หรือมากกว่านี้ในอนาคต ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ถูกใจสายท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจที่ต้องเดินทางต่างประเทศไม่น้อย
เป็นฟังก์ชันนาฬิกาที่ตอบโจทย์ผู้สวมใส่ที่ชื่นชอบการใช้ผจญภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผจญภัยใต้น้ำ ซึ่งคุณสมบัติของระบบนาฬิกาที่มีฟังก์ชันกันน้ำ หรือ Water Resistance นั้น คือ การช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับระบบของนาฬิกาแม้ว่าร่างกายจะโดนน้ำหรือมีเหงื่อ ทั้งนี้ ระดับกันน้ำของนาฬิกาส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้
3 Bar สามารถโดนน้ำได้เพียงเล็กน้อย เช่น จากการล้างมือหรือฝนตก เป็นต้น
5 Bar สามารถใช้ทำกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้นได้ เช่น การว่ายน้ำ เป็นต้น
10 Bar สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องลุยมากยิ่งขึ้น เช่น การดำน้ำในระดับตื้นที่มีความลึกไม่เกิน 100 เมตร เป็นต้น
20 Bar ขึ้นไป สามารถดำน้ำลึกได้โดยขึ้นอยู่กับสเปกของนาฬิการุ่นนั้นๆ
โดยหลักแล้ว ระบบนาฬิกามีทั้งหมด 5 ระบบ ด้วยกัน ได้แก่ ระบบ Quartz ระบบ Analog ระบบ Mechanical ระบบ Manual Winding Watch และ ระบบ Automatic Watch ซึ่งนอกจากระบบนาฬิกาแล้วนั้น ยังมีกลไกลนาฬิกาข้อมือ ที่มีส่วนประกอบหลักเพียงไม่กี่อย่าง นอกเหนือจากนั้นแบรนด์นาฬิกาแต่ละแบรนด์จะคิดค้นกลไกลนาฬิกาข้อมือ เพื่อให้ได้เอกสิทธิ์เฉพาะของแบรนด์ไม่ซ้ำใคร และท้ายที่สุดนั้น ยังมีฟังก์ชันเสริมของนาฬิกาไม่ว่าจะเป็น การบอกวันเดือนปี การจับเวลา การบอกข้างขึ้นข้างแรม การดูเวลาในไทม์โซนที่แตกต่างกัน หรือกระทั่งการกันน้ำ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้มีหลากหลาย เหมาะสมกับผู้สวมใส่ที่มีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป