นาฬิกาออโตเมติกไม่เดิน! ขึ้นลานอย่างไรให้ถูกต้อง
นาฬิกานั้นมีรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นาฬิการะบบไขลาน ที่จะต้องทำการไขลานทุกๆ วัน ระบบไฟฟ้าโบราณที่จะมีแบตเตอรี่ขนาดจิ๋วอยู่ภายในเครื่อง นาฬิการะบบ Quartz ที่จะมีแร่ควอตซ์และแผงวงจรไฟฟ้า และระบบ Automatic ที่สามารถดูแลเติมพลังงานให้ตัวเองได้อย่างอัตโนมัติ
ในบทความนี้จะมาดูกันว่านาฬิกา Automatic คืออะไร หากนาฬิกาออโตเมติกไม่เดินต้องทำการขึ้นลานอย่างไร รวมไปถึงคำถามที่หลายคนสงสัยบ่อยๆ เช่น นาฬิกา Automatic อยู่ได้กี่วัน
นาฬิการะบบ Automatic คือ นาฬิกาที่มีระบบการทำงานผ่านการใช้จานหมุนภายในตัวเรือน ที่จะทำงานได้เองอย่างอัตโนมัติ เมื่อนาฬิกาเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น ร่วมกับสปริงภายใน ที่ช่วยเพื่อเพิ่มพลังในการเคลื่อนไหว ทำให้นาฬิการะบบนี้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องไขลานได้เป็นปีๆ
นาฬิการะบบ Automatic ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยพัฒนามาจากนาฬิการะบบไขลาน ที่ต้องไขลานโดยตรงในแต่ละวัน เพื่อให้นาฬิกาสามารถทำงานได้ แต่นาฬิการะบบ Automatic จะมีกลไกภายในที่แปลงพลังงานจลน์จากการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการสั่นสะเทือนให้ไปสะสมอยู่ในกลไกที่จะทำให้นาฬิกาทำงานได้ด้วยตนเอง จึงกลายเป็นนวัตกรรมที่สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีในสมัยนั้น และเป็นอีกหนึ่งระบบกลไกนาฬิกาที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กับระบบไขลานซึ่งมีมาก่อนเลย
การทำงานของนาฬิการะบบ Automatic ใช้กลไกแบบตุ้มเหวี่ยง มีลานสะสมที่จะเก็บสะสมพลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายในการใช้ชีวิตประจำวันและการสั่นสะเทือนของนาฬิกาเอาไว้ใช้ ทำให้นาฬิกามีกำลังลานในการเดินและทำงานต่อไป ดังนั้น นาฬิการะบบ Automatic จำเป็นจะต้องทำการขยับอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้นาฬิกาเดินอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้ใส่นาน หรือปล่อยทิ้งไว้นานๆ ตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป นาฬิกาก็อาจจะหยุดทำงานได้ เพราะไม่มีแรงสะสมพลังงานเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกลไกหลงเหลืออยู่แล้ว แต่บางรุ่นที่มีราคามากขึ้นก็อาจจะมีระบบพลังงานสำรองที่จะช่วยยืดเวลาที่นาฬิกาจะหยุดเดินออกไปได้
เมื่อนาฬิกาหยุดเดินก็จะต้องนำนาฬิกามาตั้งเข็มเวลานาฬิกาใหม่ให้เวลาตรงก่อนนำกลับมาใช้งานเสมอหลังจากนาฬิกาหยุดไป และ โดยปกติแค่เขย่าก็จะกลับมาใช้งานได้ แต่หากเขย่าแล้วนาฬิกาออโตเมติกยังไม่เดินก็จำเป็นต้องทำการขึ้นลานแทน
การขึ้นลานนาฬิกา คือ อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเติมพลังงานเข้าไปในระบบกลไกของนาฬิกาได้โดยตรง นอกเหนือไปจากการแกว่งไปมาระหว่างการใช้งาน ซึ่งพลังงานเหล่านี้จะถูกสะสมเอาไว้ เพื่อป้อนให้กลไกที่จะทำให้นาฬิกา Automatic เดินต่อไปได้
การขึ้นลานนาฬิกาจำเป็นสำหรับนาฬิกาออโตเมติกที่มีกำลังลานน้อยเกินไปจนทำให้หยุดเดิน หรือมีปัญหาในการเดินที่ทำให้นาฬิกาขาดความแม่นยำ ซึ่งการขึ้นลานนั้นจะมีประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพ ความสามารถในการวัดเวลา และความเที่ยงตรงของนาฬิกาตามที่ควรเป็น โดยการขึ้นลานนาฬิกาอาจจะจำเป็นสำหรับนาฬิกาออโตเมติกเมื่อไม่ได้ใส่นาฬิกาเป็นเวลานานจนพลังงานหมดไป แต่โดยทั่วไปหากมีการใช้งานนาฬิกาออโตเมติกเป็นประจำทุกวัน นาฬิกาก็จะได้รับการขึ้นลานอัตโนมัติผ่านระบบกลไกภายใน ทำให้อาจไม่จำเป็นต้องขึ้นลานด้วยตัวเองเลยก็ได้
สำหรับผู้ที่ประสบปัญหานาฬิกาออโตเมติกไม่เดิน วิธีการขึ้นลานนาฬิกา มีดังนี้
ถอดนาฬิกาออกจากข้อมือก่อนทำการขึ้นลานนาฬิกา ไม่ควรขึ้นลานระหว่างที่นาฬิกายังอยู่บนข้อมือ เพราะจะมีแรงดันที่เกิดจากพลังงานเหวี่ยงกระทำที่แกนไขด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดการสึกหรอของแกนมะยมขึ้นมาได้มากกว่าแค่การขึ้นลานเพียงอย่างเดียว รวมไปถึง กลไกภายในก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
ใช้นิ้วสองนิ้วออกแรงหมุนเม็ดมะยม เพื่อคลายเม็ดมะยมออก โดยไม่ต้องกดหรือดันไปด้านใดด้านหนึ่ง สามารถใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หรือจะใช้นิ้วกลางก็ได้ตามความถนัดของแต่ละคน แต่ไม่ควรใช้นิ้วเดียวไถเม็ดมะยมโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
หากนาฬิกามีระบบสำรองพลังงาน ให้อ่านสเกลพลังงานว่าควรจะหมุนเม็ดมะยมขึ้นลานประมาณกี่รอบ
ในกรณีนาฬิกาออโตเมติกที่ใช้ไม่มีระบบสำรองพลังงาน ก็ให้ค่อยๆ หมุนเม็ดมะยมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกตึงมือ นั่นหมายความว่าลานเต็มแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 30-40 ครั้ง โดยในการหมุนให้ออกแรงจับที่เม็ดมะยมเบาๆ และเมื่อรู้สึกว่าสุดแล้วก็ให้ปล่อยนิ้วมือหลุดจากเม็ดมะยม เพราะการที่ออกแรงหมุนมากไปอาจทำให้ลานขาดได้
หลังจากขึ้นลานเสร็จแล้ว ก็ให้หมุนเม็ดมะยมย้อนกลับมาอย่างน้อยราวๆ เครื่องรอบ เพื่อปล่อยให้กระปุกลานเป็นอิสระจากกลไกการขึ้นลาน ซึ่งจะช่วยให้สปริงลานมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น
หากไม่มีระบบสะสมพลังงานจะต้องขึ้นลานเติมพลังงานในเวลาเดียวกันของทุกวัน หรือประมาณ 2-3 วันครั้ง แต่หากมีระบบสำรองพลังงานก็สามารถสะสมพลังงานเอาไว้ได้เพื่อที่จะไม่ต้องขึ้นลานมาก
หากนาฬิกามีระบบบอกวันที่ ก็ไม่ควรทำการขึ้นลานปรับเปลี่ยนเวลาในช่วง 4 ทุ่มถึงเที่ยงคืน เพราะอาจจะไปรบกวนกับกลไกที่ใช้บอกวันที่ได้
การตั้งเวลาของนาฬิกาออโตเมติก ควรจะหมุนตามเข็มนาฬิกาเท่านั้น เพราะการหมุนทวนเข็มนาฬิกาอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบลานและระบบกลไกภายในได้
เพียงทำตามขั้นตอนเหล่านี้เท่านั้น การขึ้นลานนาฬิกาก็จะเสร็จสมบูรณ์ โดยที่ยังคงรักษาดูแลและป้องกันการเกิดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับกลไกของนาฬิกาออโตเมติกระหว่างการขึ้นลานด้วย ทั้งนี้ การขึ้นลานที่แนะนำไปเป็นการขึ้นลานแบบพื้นฐาน นาฬิกาแต่ละเรือนอาจมีระบบขึ้นลานที่แตกต่างกันออกไป
ระบบการทำงานของนาฬิกาออโตเมติก จะใช้การเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายให้กลายเป็นกำลังลานในการทำงานของนาฬิกา เป็นการขึ้นลานอย่างอัตโนมัติ ซึ่งพลังงานเหล่านั้นก็จะถูกเก็บอยู่ในกลไกของนาฬิกา ส่วนการขึ้นลานก็เป็นวิธีที่ไม่ต่างจากการไขลานนาฬิกาเพื่อเติมพลังงานเข้าไปโดยตรงมากนัก
หากไม่อยากขึ้นลานบ่อยๆ ก็ต้องมีการสำรองพลังงานผ่านการขยับตัวในช่วงเวลากลางวันเพื่อเติมพลังงานเข้าไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความจำเป็นในการขึ้นลานนาฬิกาก็ได้ สำหรับบางคนที่ใช้นาฬิกาเป็นประจำก็อาจจะซื้อเครื่องหมุนนาฬิกามาเสียบแล้ววางไว้ให้นาฬิกาหมุน ระหว่างการถอดในตอนเข้านอน ซึ่งจะช่วยให้มีแรงเหวี่ยงเกิดขึ้นกับกลไกของนาฬิกาตลอดเวลาก็ได้
ต่อไปนี้ก็จะเป็นคำถามที่มักพบเจอบ่อยๆ เกี่ยวกับนาฬิกา Automatic ที่เหล่านักสะสมมักสงสัยกัน โดยได้รวบรวมคำตอบไว้ให้แล้ว
นาฬิกา Automatic จะอยู่ได้นานประมาณ 1-2 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นของนาฬิกาด้วย โดยอาจจะดูได้จากคู่มือมากับนาฬิกาแต่ละรุ่นได้
นาฬิกา Automatic เดินได้โดยอาศัยพลังงานจลน์ที่เก็บสะสมจากการขึ้นลานนาฬิกามาขับเคลื่อนกลไกนาฬิกาให้เดินต่อไป โดยพลังงานนี้สามารถสะสมได้เองผ่านการเคลื่อนไหวระหว่างการสวมใส่นาฬิกา
นาฬิกา Automatic ต้องใส่อย่างน้อยวันละประมาณ 8 ชั่วโมง เพื่อให้เพียงพอต่อการสะสมพลังงานไปใช้ในวันถัดไป โดยไม่ต้องทำการขึ้นลานใหม่
การขึ้นลานนาฬิกา Automatic แต่ละครั้งจะมอบพลังงานให้เพียงพอใช้ต่อไปได้ประมาณ 6-12 ชั่วโมง
การดูแลรักษานาฬิกาออโตเมติกต้องทำการล้างเครื่องทุก 5-7 ปี ซึ่งจะเป็นการเติมน้ำมันจักรในตัวระบบ เพื่อให้นาฬิกาเดินได้โดยไม่มีปัญหา
นาฬิกา Automatic คือนาฬิกาที่ใช้แรงเหวี่ยงหรือการเคลื่อนไหว เพื่อช่วยให้นาฬิกาทำงานได้ด้วยตัวเอง ผ่านการแปลงแรงเหวี่ยงนั้นเป็นพลังงานกลที่ใช้ขับเคลื่อนกลไกของนาฬิกา ซึ่งหากนาฬิกาออโตเมติกหยุดเดินก็อาจเป็นเพราะพลังงานที่เก็บสะสมไว้หมดลง โดยทั่วไปก็สามารถเติมได้ด้วยการเขย่า แต่หากทำแล้วนาฬิกาออโตเมติกยังไม่เดินอาจจะต้องทำการขึ้นลานนาฬิกาใหม่เพื่อเติมพลังงานโดยตรง แต่ก็ไม่ควรขึ้นลานบ่อย เพราะอาจจะทำให้กลไกเสื่อมเร็วขึ้นได้ จึงควรใส่นาฬิกาอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงเพื่อสะสมพลังงาน และควรล้างนาฬิกาทุก 5-7 ปี เพื่อรักษานาฬิกาให้ใช้งานได้ยาวนาน