นาฬิกา GMT คืออะไร รู้ครบ จบทุกคำถาม



นาฬิกา GMT คืออะไร รู้ครบ จบทุกคำถาม

ผู้ที่เริ่มเข้าวงการสะสมนาฬิกาคงเคยได้ยินคำว่า “นาฬิกา GMT” กันมาบ้าง แต่อาจไม่แน่ใจว่า ระบบนาฬิกานี้คืออะไร และทำงานอย่างไร สำหรับผู้ที่กำลังสนใจ และอยากได้นาฬิกาประเภทนี้มาครอบครองไว้สักเรือน บทความนี้จะให้ข้อมูลที่ควรรู้เพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา GMT มีจุดเด่นอย่างไร เข็ม GMT คืออะไร หรือควรซื้อนาฬิกาแบบไหนดี

 

ทำความรู้จักกับนาฬิกา GMT มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

 

ทำความรู้จักกับนาฬิกา GMT มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

เดิมทีแล้ว นาฬิกา GMT ออกแบบมาสำหรับนักบิน ผู้ที่เดินทางไกลบ่อยๆ หรือนักธุรกิจที่ต้องเดินทางไปตามต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับเขตเวลาต่างๆ โดย GMT ย่อมาจาก Greenwich Mean Time หมายถึง เวลามาตรฐานกรีนิช เป็นเวลาทางการของหอดูดาวแห่งกรีนิช (Royal Observatory) ในลอนดอน ที่กำหนดเขตไทม์โซนขึ้นมา เพื่อแบ่งเวลาพื้นที่ต่างๆ ของโลกออกเป็นเขตเวลาต่างๆ ดังนั้น นาฬิกา GMT คือ นาฬิกาที่มีฟังก์ชันแสดงเขตเวลา 2 ไทม์โซน ไปจนถึง 24 ไทม์โซน ทำให้ผู้สวมใส่สามารถดูเวลาในสถานที่ต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานที่นั้นๆ 

 

นาฬิกาแต่ละแบบ แต่ละยี่ห้อ จะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการใช้งานของนาฬิกาเรือนนั้นๆ โดยส่วนประกอบของนาฬิกาข้อมือระบบ GMT ที่แตกต่างจากนาฬิกาทั่วไป ดังนี้
 

 

ประเภทของนาฬิกา GMT

 

ประเภทของนาฬิกา GMT

นาฬิกา GMT คือ นาฬิกาที่มีฟังก์ชันแสดงเขตเวลา 2 ไทม์โซนขึ้นไป ซึ่งนาฬิกา GMT ที่ผลิตในช่วงแรกๆ เช่น นาฬิกาของแบรนด์ Rolex ได้มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่กลุ่มนักบิน เนื่องจากฟังก์ชันของนาฬิกาสามารถดูเวลาคู่ได้ และดูเวลาไทม์โซนอื่นได้ไปพร้อมกัน  

 

โดยปกตินาฬิกา GMT จะมีเข็มหลัก หรือเข็มชั่วโมงกับนาที ทำหน้าที่แสดงเวลาเมืองที่เจ้าของนาฬิกาอาศัยอยู่  (Home Time) หรือ เมืองที่จากมา ในกรณีที่ผู้สวมใส่เดินทางไปยังไทม์โซนอื่นๆ ส่วนเข็ม GMT จะนิยมตั้งไว้เพื่อระบุว่าเวลานั้นๆ เป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก เพราะถ้าหากนาฬิกาหยุดเดิน เข็ม GMT จะทำหน้าที่บอกให้ทราบถึงช่วงเวลาได้ นอกจากนี้ นาฬิกา GMT ในปัจจุบันมีการออกแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบุคคลมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

 

Traveler’s GMT

Traveler’s GMT คือ นาฬิกา GMT ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการเดินทาง โดยเข็มหลักจะทำหน้าที่บอกเวลาท้องถิ่น (Local Time) ของเมืองที่ผู้ส่วมใส่เดินทางไป ทำให้ Traveler’s GMT เหมาะกับกลุ่มคนที่นิยมเดินทางบ่อยๆ ไปยังประเทศที่อยู่คนละไทม์โซน เพราะเป็นประเภทของนาฬิกา GMT ที่ให้ความสำคัญกับจุดหมายปลายทางของผู้สวมใส่มากกว่าเมืองที่ผู้สวมใส่อาศัยอยู่   
 

ยกตัวอย่างเช่น หากเดินทางไปยังประเทศจีน เมื่อถึงที่หมาย ก็สามารถหมุนเม็ดมะยมไปตามเวลาของประเทศนั้นบนหน้าปัดหลักได้ ส่วนเข็ม GMT ก็ชี้ไปที่เวลาของเมืองที่เจ้าของนาฬิกาอาศัยอยู่  (Home Time) เหมือนเดิม เพราะฉะนั้น โดยปกตินาฬิกานี้จะเหมาะกับผู้ที่เดินทางบ่อยๆ เพื่อให้ปรับเวลาได้อย่างสะดวกสบาย

 

Office GMT

Office GMT คือ นาฬิกา GMT ที่เข็มหลัก จะทำหน้าที่บอกเวลา Home Time และเมื่อเดินทางไปต่างแดน ผู้สวมใส่สามารถหมุนเข็ม GMT ปรับให้เป็นเวลาท้องถิ่น (Local Time) ของสถานที่นั้นๆ ได้ โดยที่เวลาบนเข็มหลักจะยังเป็นเวลา Home Time อยู่ แต่อาจจะดูเวลาได้ยากกว่า เมื่อเทียบกับ Traveler’s GMT เพราะว่าเวลาบนหน้าปัดเป็นแบบ 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ Office GMT มักนิยมใช้เพื่ออ้างอิงเวลาที่ 2 เมื่อผู้สวมใส่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ 
 

ยกตัวอย่างเช่น หากมีครอบครัวทำงานอยู่ต่างประเทศ หรือมีคู่ธุรกิจที่มีสำนักงานอยู่คนละไทม์โซน ผู้สวมนาฬิกาสามารถเช็กดูได้ว่า สถานที่นั้นๆ เป็นเวลาเท่าไหร่ ซึ่งช่วยให้สามารถเลือกช่วงเวลาที่สะดวกของทั้งสองฝ่ายในการติดต่อกันได้ 
 

วิธีการใช้และการอ่านค่านาฬิกา GMT 

 

วิธีการใช้และการอ่านค่านาฬิกา GMT 

จุดเด่นของนาฬิกา GMT คือ เข็ม GMT ซึ่งเป็นเข็มที่ 4 ใช้ในการบอกเวลา 24 ชั่วโมง แต่วิธีการตั้งเวลาหรืออ่านค่านาฬิกาประเภทนั้นไม่ยุ่งยาก 
 

ในการตั้งเวลา สามารถตั้งได้เหมือนนาฬิกาทั่วไป โดยการดึงเม็ดมะยมออกมาจนสุด แล้วหมุนไปตามเวลาที่ต้องการ ในกรณีของการเปลี่ยนวันที่ก็สามารถทำแบบเดียวกันได้ แต่จุดต่างคือ นาฬิกา GMT จะมีการดึงคลิกแรก ที่ยังดึงไม่สุด เพื่อตั้งค่าเวลาปัจจุบัน และเข็ม GMT ว่าจะให้เดินต่างกันกี่ชั่วโมง ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 การใช้งาน ดังนี้
 

 

GMT ในประเทศแถบเอเชีย และเมืองอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

GMT ในประเทศแถบเอเชีย และเมืองอื่นๆ ที่น่าสนใจ

GMT ย่อมาจาก Greenwich Mean Time หมายถึง เวลามาตรฐานกรีนิช ซึ่งเป็นจุดที่เส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) หรือค่าลองจิจูด 0 องศาลากผ่าน เพื่อกำหนดเป็นเวลามาตรฐานสากล เมืองดังกล่าวเป็นเขตการปกครองของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ เพราะฉะนั้น การบอกเวลาที่มี GMT ต่อท้าย จะยึดตามเวลาของประเทศอังกฤษเป็นหลัก ที่มีค่า GMT เป็น 0 และเป็นตัวกำหนดเวลาที่เร็วหรือช้ากว่าเวลาที่เมืองกรีนิช 
 

ตัวอย่างเช่น เวลาประเทศไทยอยู่ที่ GMT+7 จะหมายถึง เวลาของประเทศไทยเร็วกว่าเวลากรีนิช 7 ชั่วโมง หรือถ้าเวลาประเทศไทยอยู่ที่ GMT-12 จะหมายถึง เวลาของประเทศไทยเช้ากว่ากรีนิช 12 ชั่วโมง กล่าวคือ ถ้าที่กรีนิชเป็นเวลาเที่ยงคืน ประเทศไทยก็จะเป็นเวลาเที่ยงวัน เป็นต้น ทั้งนี้ ต่อให้เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปเดียวกัน ก็อาจจะใช้ค่า GMT ที่ต่างกันได้ เช่น 
 

นาฬิกา GMT คือระบบนาฬิกาที่ย่อมาจาก Greenwich Mean Time หมายถึง ระบบเวลาที่เมืองกรีนิช ซึ่งจะนับเป็น GMT+0 โดยนาฬิกา GMT นั้นสามารถบอกเวลาประเทศอื่นๆ ได้ 2 หรือ 3 ประเทศแล้วแต่รุ่น โดยเข็ม GMT คือเข็มที่ 4 บนหน้าปัดนาฬิกาจะบอกเวลาประเทศที่ผู้สวมใส่ตั้งค่าไว้ ส่วนใหญ่แล้วนาฬิกาแบบ GMT เหมาะกับนักบิน ผู้ที่ต้องเดินทางไปทำงานต่างประเทศบ่อยๆ รวมถึงนักธุรกิจที่ต้องติดต่องานกับประเทศอื่นๆ

Back