วิธีปรับเวลานาฬิกาข้อมือเพื่อไม่ให้นาฬิกาพังเร็ว
นาฬิกาข้อมือเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องหมั่น ดูแล ทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ยืดอายุการใช้งาน และไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค หากต้องการยืดอายุการใช้งานของนาฬิกาเรือนโปรดให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นอกจากการเก็บนาฬิกาที่ถูกวิธีแล้ว วิธีตั้งเวลานาฬิกาข้อที่ถูกวิธีก็สามารถช่วยยืดอายุระบบการใช้งานของนาฬิกาเรือนโปรดได้อีกด้วยเช่นกัน ที่สำคัญจะต้องมีวิธีตั้งเวลานาฬิกาข้อมือแต่ละแบบให้ถูกต้อง บทความนี้จะช่วยให้ตั้งค่าเวลานาฬิกาข้อมือเป็นไปอย่างถูกวิธี
“นาฬิกาข้อมือไขลาน” หรือ Hand Winding Mechanical Watch คือนาฬิกาที่ทำงานด้วยระบบการไขลาน (Winding) โดยการหมุนเม็ดมะยม หรือ Crown ที่อยู่บริเวณข้างตัวเรือน โดยจะมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
เม็ดมะยมแบบธรรมดา
เม็ดมะยมแบบล็อคด้วยสกรู
ผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำการไขลานเอง แม้ว่าอาจจะมีวิธีการที่จะดูซับซ้อนไปเสียบ้าง แต่ก็นับเป็นเสน่ห์ที่นักสะสมนาฬิกาต่างหลงใหล แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นต้องรู้ถึงวิธีปรับนาฬิกาแบบเม็ดมะยมให้ถูกวิธีด้วยเช่นกัน เพื่อให้ระบบการทำงานของนาฬิกาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในการบอกเวลาอย่างเที่ยงตรง
โดยทั่วไปการวิธีปรับเวลานาฬิกาข้อมือแบบเม็ดมะยมจะมีขั้นตอนประมาณ 5 ขั้นตอน โดยได้แก่
ดึงเม็ดมะยมออกมาหนึ่งคลิกสำหรับรุ่นที่เป็นเม็ดมะยมแบบธรรมดา สำหรับรุ่นที่ใช้เม็ดมะยมแบบล็อคด้วยสกรูให้คลายเกลียว หรือปลดล็อกก่อนที่จะหมุน
ดึงเม็ดมะยมออกมาในจังหวะที่สอง รอให้เข็มวินาทีมาถึงตำแหน่ง 12 นาฬิกา
หมุนเม็ดมะยมเพื่อเลื่อนเข็มไปข้างหน้าจนกว่าวันที่จะเปลี่ยนเป็นวันถัดไป
หมุนเม็ดมะยมทวนเข็มนาฬิกาและตั้งเวลาให้ตรงกับเวลาในปัจจุบัน
ดึงเม็ดมะยมกลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ สำหรับรุ่นที่ใช้เม็ดมะยมแบบล็อคด้วยสกรู ให้ล็อคเม็ดมะยมหลังใช้งานด้วย
โดยทั่วไปการวิธีตั้งวันที่นาฬิกาข้อมือแบบเม็ดมะยม จำเป็นต้องมีการปรับวันที่ในทุกๆ สิ้นเดือน โดยมีขั้นตอนเพียง 3 ขั้นตอนได้แก่
ดึงเม็ดมะยมออกมาหนึ่งคลิก
หมุนเม็ดมะยมทวนเข็มนาฬิกา เพื่อทำการเปลี่ยนวันที่ให้กลายเป็นเลข 1 เพื่อพร้อมสำหรับการเริ่มต้นนับเดือนใหม่
ดึงเม็ดมะยมกลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ หากเป็นนาฬิกาข้อมือที่เป็นรุ่นเม็ดมะยมแบบล็อคด้วยสกรู ให้ล็อคเม็ดมะยมหลังใช้งาน
สำหรับนาฬิกาดิจิตอล เป็นนาฬิกาที่แสดงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เวลา วัน เดือน ปี เป็นตัวเลขดิจิตอล ซึ่งการตั้งเวลาของนาฬิกาแบบดิจิตอลนั้น จะมีความซับซ้อนน้อยกว่าระบบแบบหมุนเม็ดมะยม โดยเบื้องต้นอาจจะต้องทำความเข้าใจระบบการทำงานของทั้ง 4 ปุ่มที่มีอยู่บนตัวเรือนก่อน ซึ่งปุ่มทั้งสี่จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
ปุ่ม A หรือ ปุ่มตำแหน่งซ้ายบน (Adjust)
ปุ่ม B หรือ ปุ่มตำแหน่งขวาบน (Reverse)
ปุ่ม C หรือ ปุ่มตำแหน่งซ้ายล่าง (Mode)
ปุ่ม D หรือ ปุ่มตำแหน่งขวาล่าง (Forward)
ทั้งนี้การตั้งค่าเวลาและวันที่จำเป็นต้องอาศัยของ 4 ปุ่มที่อธิบายไปในเบื้องต้น
การตั้งเวลาข้อมือแบบดิจิตอล จะแยกวิธีตั้งเวลานาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอลได้ออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่
1. หน้าปัดนาฬิกาแบบดิจิตอล
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายล่าง เพื่อเปลี่ยนโหมด
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายบนค้างไว้จนตัวเลขกระพริบ
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายบนและปุ่มตำแหน่งขวาบน เพื่อปรับค่าเวลาให้ได้ตามที่ต้องการ
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายบน เพื่อออกจากโหมด Setting
2. หน้าปัดนาฬิกาแบบเข็ม
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายล่าง เปลี่ยนโหมด H-S หรือ Hand Setting เพื่อทำการปรับเวลาแบบเข็ม
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายบนค้างไว้ เพื่อให้ตัวเลขกระพริบ
กดปุ่มตำแหน่งขวาล่าง เพื่อปรับเข็มให้ตรงกับเวลาหน้าปัดดิจิตอล
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายบน เพื่อออกจากโหมด Setting
โดยปกติแล้วนาฬิการะบบดิจิตอลนั้นจะมีการตั้งวันที่มาให้เรียบร้อยแล้ว จึงมีส่วนน้อยมากที่จะวันที่จะคลาดเคลื่อนไป แต่สำหรับกรณีที่วันที่คลาดเคลื่อนและต้องการตั้งค่าใหม่สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายล่าง เพื่อเปลี่ยนโหมด
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายบนค้างไว้จนตัวเลขกระพริบ
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายล่าง เพื่อเลื่อนหน่วยจากเวลาไปสู่วันที่ เริ่มจากวินาที นาที ชั่วโมง วัน วันที่ตามลำดับ จากนั้นทำการปรับเปลี่ยนวันที่ตามที่ต้องการ
กดปุ่มตำแหน่งซ้ายบน เพื่อออกจากโหมด Setting
ปัจจุบันนาฬิกาสมาร์ทวอชนับเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มาแรงที่สุดในยุคนี้เลยก็ว่าได้ เนื่องจากมาพร้อมฟังก์ชันที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะสายรักสุขภาพที่มาพร้อมฟังก์ชั่นนับอัตราการเต้นของหัวใจ นับจำนวนการก้าวเดินในแต่ละวัน นับชั่วโมงการนอน และอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังเอาใจสายโชเชียลที่ต้องการอัพรับรู้ข่าวสารต่างๆ จากมือถือได้อย่างทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปจัดการในมือถือเลยก็ว่าได้ โดยปกติการตั้งเวลาในสมาร์ทวอชนั้นสามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชันที่รองรับระบบสมาร์ทวอชรุ่นนั้นๆ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นที่ระบบนาฬิกาสมาร์ทวอชนั้นๆ รองรับ
ปรับเวลาในหน้า “ตั้งค่า” จากนั้นไปที่เมนู “วันที่และเวลา”
ปรับแต่งหน้าปัดนาฬิกาตามรูปแบบที่ต้องการ
แม้ว่าจะรู้วิธีปรับนาฬิกาเบื้องต้นแล้วแต่ก็มีข้อควรละวังที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้นาฬิกาเรือนโปรดมีอายุขัยสั้นกว่าที่ควรจะเป็น โดยจะมีข้อควรระวังดังต่อไปนี้
ศึกษากลไลของนาฬิกาแต่ละรุ่นอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากนาฬิกาแต่ละระบบ แต่ละแบรนด์นั้นมีกลไกการทำงานที่ซับซ้อน และแตกต่างกัน ก่อนจะทำการปรับค่าใดๆ ควรศึกษาให้รอบด้านเสียก่อน
เลี่ยงการปรับเวลาและวันที่ในช่วงกลางคืนหรือช่วง 21.00 - 03.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่ระบบกลไกนาฬิกาที่เป็นตัวการบอกเวลาและวันที่เริ่มทำงาน หากมีการปรับหรือตั้งเวลาใหม่ในช่วงนั้น อาจทำให้ระบบรวนได้ง่ายๆ
เลี่ยงการหมุนเม็ดมะยมแบบออกแรงดึงในครั้งเดียว ควรค่อยๆ คลายเกลียวออกมา สำหรับรุ่นที่ใช้เม็ดมะยมแบบล็อคด้วยสกรูก่อนทำการปรับเวลาหรือวันที่ หลังจากตั้งค่าเวลาและวันที่เสร็จสิ้นควรดันเม็ดมะยมกลับสู่ตำแหน่งเดิมแล้วค่อยๆ ขันเกลียวลงจนสนิท เพื่อป้องกันฝุ่นละองงและสิ่งสกปรกเข้าไป
เลี่ยงการหมุนเม็ดมะยมขณะสวมใส่ เนื่องจากแรงดันจากแกนไขอาจจะส่งผลกระทบต่อการสึกหรอของแกนมะยม รวมไปถึงระบบกลไกภายใน
หากนาฬิกาได้รับการดูแลรักษาอย่างดี แต่วิธีตั้งเวลานาฬิกาข้อมือยังทำอย่างไม่ถูกวิธีก็อาจจะระบบนาฬิกาเรือนโปรดทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพและขัดข้องไปในที่สุด จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักกับการปรับเวลาและวันที่ของนาฬิกาข้อมือแต่ละระบบได้อย่างถูกต้อง โดยศึกษาข้อควรระวังอย่างถี่ถ้วน เพียงเท่านี้ก็สามารถยืดอายุนาฬิกาเรือนโปรดได้ไปอีกนานเท่านาน