ใส่นาฬิกาแล้วคันต้องทำอย่างไร แบบนี้ใช่แพ้สายนาฬิกาหรือเปล่า?



ใส่นาฬิกาแล้วคันต้องทำอย่างไร แบบนี้ใช่แพ้สายนาฬิกาหรือเปล่า?


นาฬิกาข้อมือยังคงเป็นสิ่งที่นิยมอยู่ตลอดเวลาตลอดทุกยุคทุกสมัย ถึงแม้ว่าการดูเวลาในตอนนี้จะสามารถดูได้จากหน้าจอโทรศัพท์ ยิ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีในสมัยนี้ก็ทำให้มีระบบอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่ในรูปแบบนาฬิกาข้อมือ อย่าง smart watch อีก คนนิยมใช้นาฬิกา ก็ยิ่งมีกันมากขึ้น
แต่ในบางคนตอนสวมใส่นาฬิกาข้อมืออาจเกิดอาการคัน หรือรู้สึกระคายเคืองขึ้นมา จนเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมใส่นาฬิกาแล้วคัน บางคนอาจจะคิดว่า smart watch มีระบบเซ็นเซอร์การตรวจชีพจรต่างๆ เลยทำให้เกิดอาการแพ้สายนาฬิกาหรือเปล่า บทความนี้จะมาอธิบาย และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ และพร้อมบอกวิธีการใส่นาฬิกา หรือการเลือกวัสดุสายนาฬิกาให้ไม่มีอาการระคายเคือง หรืออาการแพ้สายนาฬิกาได้อีก

 

ทำไมใส่นาฬิกาแล้วคัน?
 

ทำไมใส่นาฬิกาแล้วคัน?


การใส่นาฬิกาแล้วคันถือว่าเป็นสัญญาณของอาการแพ้ ซึ่งอาการแพ้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการแพ้นม แพ้กุ้ง แพ้วัสดุต่างๆ ซึ่งในบางคนแม้ว่าจะไม่เคยมีประวัติการแพ้อะไรมาก่อนก็สามารถเกิดอาการแพ้ หรือเกิดการระคายเคืองได้ เพราะว่าผิวหนังของแต่ละคนมีภูมิคุ้มกันที่ต่างกัน ความบอบบางของผิวหนังก็ไม่เท่ากัน

บางคนจึงอาจแพ้สายนาฬิกา เพราะผิวหนังอาจจะมีความไวต่อความรู้สึกจากวัสดุของสายนาฬิกาได้ง่าย เป็นเหตุให้ใส่นาฬิกาแล้วคันนั่นเอง

 

สาเหตุที่ทำให้ใส่นาฬิกาแล้วคันมีอะไรบ้าง?
 

สาเหตุที่ทำให้ใส่นาฬิกาแล้วคันมีอะไรบ้าง?

ใส่นาฬิกาแล้วคันเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ไม่ใช่แค่ความแตกต่างของผิวหนังของแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของวิธีการใส่หรือวิธีการดูแลนาฬิกาด้วย อย่างเช่น
 

แต่บางคนก็คงคำถามว่า “แล้วนาฬิกาตรวจชีพจรไม่ได้ทำให้แพ้นาฬิกาหรอ เพราะมันก็มีเซ็นเซอร์นะ” ตอบได้เลยว่า ปกตินาฬิกาตรวจชีพจรนั้น ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใส่วัดชีพจรได้ตลอดเวลา ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงตอนนอน


อย่างไรก็ตาม การสัมผัสแสงไฟในส่วนเซ็นเซอร์ตรวจชีพจรนั้นไม่ได้ส่งผลต่อผิวหนังของเราเลย เพราะอาการแพ้ อาการคันต่างๆ เกิดจากภูมิคุ้มกันของผิวหนังบ้าง อาจเกิดจากการเสียดสีบ้าง เพราะฉะนั้นเซ็นเซอร์จากนาฬิกาตรวจวัดชีพจรไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้ได้

 

อาการที่บ่งบอกว่าแพ้นาฬิกา หรือสายนาฬิกา
 

อาการที่บ่งบอกว่าแพ้นาฬิกา หรือสายนาฬิกา

อาการที่บอกได้ว่าเราแพ้สายนาฬิกา หรือแพ้สายนาฬิกานั้น ได้แก่
 

หากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาหรืออาจปรึกษาแนวทางในการบรรเทาอาการเหล่านี้ เพราะอาจเป็นอันตรายภายหลังได้ หากเราไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการแพ้อะไรบ้าง ก็สามารถไปทำ patch test ในโรงพยาบาลละแวกบ้านได้ ซึ่งทางโรงพยาบาลจะหาสาเหตุของอาการแพ้ได้ภายใน 96 ชั่วโมง

 

วิธีใส่นาฬิกาให้ไม่แพ้ ไม่คัน สบายผิว
 

วิธีใส่นาฬิกาให้ไม่แพ้ ไม่คัน สบายผิว


เนื่องจากการแพ้สายนาฬิกา หรือใส่นาฬิกาแล้วคันเกิดได้จากหลายสาเหตุ ถึงแม้ว่าการแก้อาการระคายเคือง หรืออาการคันนั้นสามารถแก้ไปด้วยการทาสเตียรอยด์ หรือทานยาได้ แต่เราก็จำเป็นที่ต้องรู้วิธีการใส่นาฬิกาที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังของเรา เพราะถ้าหากเกิดอาการแพ้รุนแรงอาจส่งผลร้าย เปลี่ยนชีวิตประจำวันของเราไปเลยก็ได้

ซึ่งวิธีการใส่นาฬิกาไม่ให้แพ้นั้นก็ง่ายแสนง่าย เพียงทำตามวิธีต่อไปนี้
 

เลือกวัสดุ หรือสายนาฬิกาให้ดี

ควรเลือกวัสดุสายนาฬิกาให้เหมาะสมกับผิวหนังของตัวเองเมื่อซื้อนาฬิกามาใช้ หากเกิดการระคายเคือง เราอาจเปลี่ยนวัสดุของสายนาฬิกาที่ใส่ใหม่ และไม่ควรเลือกวัสดุสายนาฬิกาแบบเดิมที่เคยทำให้ระคายเคืองมาก่อน เท่านี้เราก็จะรู้ว่าเราแพ้สายนาฬิกาแบบไหน และควรใช้สายนาฬิกาแบบไหน


ปกตินาฬิกาที่เป็นสายโลหะ จะทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม จะมีทั้งแบบเกรด 316L และ เกรด 904L ทั้งสองตัวนี้จะต่างกันที่ธาตุโครเมียมและนิกเกิล โดยที่ตัวโครเมียมจะเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้ไม่เกิดสนิมได้ง่าย และนิกเกิลเป็นตัวช่วยที่ทำให้ทนสารเคมี และกรดต่างๆได้ แต่ตัวนิกเกิลนั้นมีข้อเสีย คือ นิกเกิลจะสามารถเข้าสัมผัสกับผิวหนังเราผ่านเหงื่อได้จากเหล็ก และนั่นสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ ใส่นาฬิกาแล้วคันนั่นเอง


แต่ถ้าหากการเลือกสายวัสดุนาฬิกาแล้วยังส่อแววว่าจะแพ้สายนาฬิกานี้อีก ให้ลองใช้ cuff band หรือปอกแขน เพื่อป้องกันเราจากโลหะที่เราแพ้ได้ หรืออาจจะใช้สายหนังที่มีสายซ้อนกันอยู่ด้านใต้นาฬิกาก็ช่วยลดการสัมผัสกับโลหะชนิดนี้ได้เหมือนกัน หรืออีกวิธีก็คือเปลี่ยนวัสดุสายไปเลย หากเราแพ้โลหะ เราอาจจะเปลี่ยนไปใช้วัสดุอย่างอื่นแทน
 

ปรับสายนาฬิกาให้เหมาะสม

สวมนาฬิกาให้พอดีกับข้อมือ หากสายนาฬิการัดข้อมือแน่นเกินไป ระบบไหลเวียนของเลือดก็อาจจะทำงานหนักการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับนาฬิกาก็จะมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเกิดอาการแพ้สายนาฬิกาก็ได้ เพราะฉะนั้นควรใส่ให้พอดี ไม่ควรหลวมจนมีช่องว่างมากเกินไป และก็ไม่ควรรัดแน่นจนบีบข้อมือ
 

นอกจากนี้ ควรใส่นาฬิกาให้ถูกตำแหน่ง โดยเฉพาะการสวมนาฬิกาสำหรับตรวจวัดชีพจร ถ้าไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อาจลดประสิทธิภาพของการใช้นาฬิกาประเภทนี้ได้ ซึ่งในการใส่นาฬิกาวัดชีพจรนั้น ให้เว้นระยะห่างจากกระดูกข้อมือมาพอประมาณ ให้อยู่ในตำแหน่งที่นาฬิการัดข้อมือได้แนบที่สุด เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวัดชีพจร และยังลดการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับนาฬิกาอีกด้วย

 

ถอดนาฬิการะหว่างวัน
 

ถอดนาฬิการะหว่างวัน

การใส่นาฬิกาตลอดเวลาทำให้เหงื่อสะสมอยู่ที่บริเวณข้อมือเป็นเหตุให้ใส่นาฬิกาแล้วคัน เนื่องจากเกิดการสะสมของแบคทีเรีย และสิ่งสกปรกต่างๆ จนทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ควรถอดนาฬิกาบ้างเวลาที่ไม่ใช้แล้ว หรือการทำกิจกรรมอะไรที่ทำให้นาฬิกานั้นเปียกน้ำ เพื่อลดการอับชื้นรอบข้อมืออีกด้วย หรือหากจำเป็นต้องใส่อาจจะสลับข้างที่ใส่ เป็นไปสวมอีกข้างนึงจากข้างที่ใส่มาตลอดทั้งวันก็ได้
 

นอกจากนี้ พยายามไม่ทาครีม หรือฉีดสารอะไร ขณะสวมใส่นาฬิกาอยู่ เพราะเมื่อมีของเหลวอยู่บริเวณข้อมือจะยิ่งอับชื้นและทำให้ระคายเคืองได้ง่ายขึ้น เช่น การฉีดน้ำหอม ทาโลชั่น ทายากันยุง เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องใส่ก็ควรรอให้แห้ง หรือทำความสะอาดบริเวณข้อมือก่อนสวมนาฬิกา
 

ทำความสะอาดเป็นประจำ

ไม่ว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้อะไร ถ้าเราไม่ทำความสะอาดก็เป็นแหล่งของสิ่งสกปรก และเชื้อโรคได้ เพราะฉะนั้นการทำความสะอาดนาฬิกาให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีการสะสมของแบคทีเรียที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการใส่นาฬิกาแล้วคัน หรืออาการแพ้สายนาฬิกา จึงควรหมั่นทำความสะอาดทุกครั้งด้วยสบู่ เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ หรือเช็ดให้แห้งเพื่อลดความอับชื้น
 

แต่การล้างทั้งตัวเรือนของนาฬิกาทำได้แค่เฉพาะรุ่นที่สามารถกันน้ำได้เท่านั้น ถ้าเป็นนาฬิกาที่ไม่ได้กันน้ำ แค่เอาผ้าชุบน้ำมาเช็กทำความสะอาดก็พอ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีทำความสะอาดนาฬิกาข้อมือ เพื่อที่จะนอกจากจะป้องกันปัญหาแพ้สายนาฬิกาแล้ว ยังช่วยถนอมนาฬิกาได้อีกด้วย
 

ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาดนาฬิกา ควรเป็นช่วงหลังออกกำลังกาย หรือในทุกๆ วันที่มีการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้เหงื่อออกมาก จะได้ไม่เกิดการสะสมของเชื้อโรค
 

ใช้ตัวช่วยเสริมลดการเสียดสี

หากจำเป็นต้องใส่นาฬิกาจริงๆ เราสามารถใช้ตัวช่วยในการลดการเสียดสีของผิวหนังกับนาฬิกา เพื่อลดปัญหาใส่นาฬิกาแล้วคันได้  เช่น การใช้แป้งมาทาในบริเวณที่สวมใส่นาฬิการอบข้อมือ หรือหาน้ำยาเคลือบ เช่น น้ำยาทาเล็ก มาทาเพื่อป้องกันการสัมผัสกับสายนาฬิกาที่เราแพ้ แต่วิธีนี้จะไม่ได้ในระยะยาว เพราะเมื่อเราใส่ไปเรื่อยๆ น้ำยาที่เคลือบไว้ ก็ถูกเหงื่อเราออกหมดได้
 

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการใส่นาฬิกาเป็นชีวิตจิตใจ หรือผู้ที่จำเป็นต้องใส่นาฬิกาสำหรับดูเวลาในทุกๆ วัน แต่กำลังเผชิญกับปัญหาใส่นาฬิกาแล้วคันอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากการระคายเคืองจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เหงื่อ การเสียดสี ความอับชื้น ของเหลวต่างๆ ไปจนถึงแพ้สายนาฬิกา ผู้ที่สวมใส่นาฬิกาจึงควรหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหล่านี้ เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เราจะได้ใส่นาฬิกาได้อย่างสบายใจ และไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอาการแก้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

Back