เปิดประวัติศาสตร์นาฬิกา เรือนเวลาบนข้อมือเริ่มต้นจากไหน



เปิดประวัติศาสตร์นาฬิกา เรือนเวลาบนข้อมือเริ่มต้นจากไหน

 

การไม่มีนาฬิกาเพื่อใช้ดูเวลาคงทำให้ใครหลายๆ คนดำเนินชีวิตในแต่ละวันได้ไม่สะดวกสบายสักเท่าไร นาฬิกาเป็นตัวช่วยสำคัญที่คอยบอกเวลา ช่วยในการนัดหมาย คอยแจ้งเตือนให้ผู้สวมใส่รู้ว่าตอนนี้เวลาเท่าไร และเป็นเวลาที่ควรทำอะไร ช่วยวางแผนชีวิตให้มีระบบระเบียบ และสามารถบริหารจัดการเวลาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากถามถึงประวัติและวิวัฒนาการของนาฬิกานั้น ก็ตอบได้ว่าต้นกำเนิดนาฬิกามีมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้จะพาไปชมประวัติความเป็นมาของนาฬิกา รวมทั้งเปิดไทม์ไลน์นาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกว่ามีที่มาจากที่ใด

 

แชร์ไทม์ไลน์วิวัฒนาการของนาฬิกาเริ่มจากไหน

แชร์ไทม์ไลน์วิวัฒนาการของนาฬิกาเริ่มจากไหน

จุดเริ่มต้นของการใช้เครื่องมือในการช่วยตรวจสอบเวลาสามารถย้อนกลับไปกว่าหลายพันปีก่อนคริสตกาล การพัฒนานาฬิกาเรียกได้ว่าต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไป เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์ คำนวณและแจ้งเตือนเวลาในแต่ละวัน ถ้าหาอยากทราบถึงประวัตินาฬิกา ก็ต้องมาดูกันว่าวิวัฒนาการของนาฬิกา และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนาฬิกาว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไร และในแต่ละช่วงเวลา นาฬิกาที่คนแต่ละยุคสมัยใช้มีลักษณะแบบใด

 

ประวัตินาฬิกาข้อมือ

ประวัตินาฬิกาข้อมือ

หากจะกล่าวถึงประวัตินาฬิกาข้อมือแล้วล่ะก็ มีข้อมูลมากมายที่แตกต่างกันได้กล่าวถึงต้นกำเนิดอันแท้จริงของนาฬิกาข้อมือว่ามีมาจากที่ใด ถ้าอิงจาก Guiness World Records นาฬิกาข้อมือเรือนแรกถูกผลิตขึ้นในปี 1868 โดยช่างทำนาฬิกาชาวสวิต Patek Philippe เพื่อ Countess Koscowicz แห่งฮังการี ข้อมูลอีกด้านก็กล่าวว่านาฬิกาข้อมือมาจากช่างทำนาฬิกาที่ชื่อว่า Breguet อย่างไรก็ตาม มาติดตามดูกันว่ากลไกนาฬิกาข้อมือแต่ละแบบนั้นแท้จริงแล้วมีอะไรบ้าง และมีหลักการทำงานอย่างไร

 

Automatic Watches
 

นาฬิกาออโตเมติก (Automatic Watch) ถูกคิดค้นและผลิตโดยช่างทำนาฬิกาชาวอังกฤษที่ชื่อว่า John Harwood ซึ่งได้ทำการผลิตระบบ Self-winding ได้สำเร็จในปี 1923 แต่เมื่อสิทธิบัตรของเขาที่หมดอายุลงในปี 1930 บริษัท Glycine ได้คิดค้นระบบ Self-winding ที่สามารถใช้งานได้กับ Watch Movement ขนาด 19.74 มิลลิเมตร นาฬิกาแบบไขลานอัตโนมัตินี้สามารถทำงานและไขลานได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิวัฒนาการนาฬิกาข้อมือประเภทนี้ก็เป็นการพัฒนามาจากนาฬิกาไขลานแบบ Manual Winding ที่ต้องอาศัยการไขลานด้วยตัวเองอยู่เรื่อยๆ เพื่อไม่ให้นาฬิกาหยุดเดิน แต่นาฬิกาออโตเมติก สามารถสะสมพลังงานได้จากแรงเหวี่ยงของผู้สวมใส่ จึงง่ายกว่าในด้านการใช้งาน 
 

Electric Watches
 

นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์เป็นนาฬิกาที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ถูกคิดค้นและพัฒนามาใช้กับนาฬิกาข้อมือแบบ Electric Watch รุ่นแรกๆ ประเภทนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก Elgin National Watch Company and the Hamilton Watch Company ราวปี 1950 Elgin ได้พัฒนาโมเดล 725 ขณะที่ Hamilton ก็ได้วางจำหน่ายโมเดลออกมา 2 ตัว คือ Hamilton 500 และ The Hamilton 505 ซึ่งโมเดล 505 พัฒนามาจากตัวเลข เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับตัวนาฬิกาข้อมือ ต่อมานาฬิกาประเภทนี้ก็ได้ถูกออกแบบจากบริษัทอื่นๆ กันอย่างแพร่หลาย
 

Quartz Watches
 

นาฬิกาข้อมือระบบควอตซ์ (Quartz Watch) เปิดตัวครั้งแรกโดยบริษัท Seiko ที่ได้ผลิตรุ่น Seiko Astron 35SQ ออกมาจำหน่ายเป็นเจ้าแรก ถือได้ว่าสร้างความฮือฮาในวงการนาฬิกาข้อมือในเรื่องความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยี ทำงานโดยใช้ควอตซ์คริสตัลหรือผลึกควอตซ์ (Quartz Crystal) มีแรงสั่นอยู่ที่ 8,192 Hz ใช้พลังงานวงจรของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสลับในการขับเคลื่อน ด้วยความนิยมทำให้นาฬิกาข้อมือระบบ Quartz ทำการตลาดแซงหน้านาฬิการูปแบบดังเดิมอย่าง Mechanical Watch ไปได้

 

นาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลก ที่ถูกทำออกมาเหมือนเครื่องประดับ

นาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลก ที่ถูกทำออกมาเหมือนเครื่องประดับ

แน่นอนว่าขนาดนาฬิกาที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กลงในอีกนัยหนึ่ง นอกเหนือจากการพกพาที่สะดวกแล้วก็เพื่อการใช้งานในด้านแฟชั่น อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าในยุคที่มีการผลิตนาฬิกาพก (Pocket Watch) นอกจากการใช้งานเพื่อดูเวลาแล้ว ยังนำมาติดห้อยไว้ด้วยโซ่ใส่ไว้ในกับเสื้อคลุมหรือชุดสูท เสริมสร้างลุคให้ดูคลาสสิกขึ้นมาได้ถึงแม้จะในบริบทปัจจุบันก็ตาม ถ้าหากจะย้อนกลับไปถึงนาฬิกาข้อมือในยุคแรกๆ ก็คงไม่สามารถสรุปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไร แต่การเริ่มผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกนั้นก็ทำเพื่อให้ผู้หญิงใส่ ซึ่งเจ้าของนาฬิกาข้อมือเหล่านั้นก็เป็นผู้หญิงชนชั้นสูง

ผู้ที่ออกมาเคลมว่าตนเป็นผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือเป็นเจ้าแรกๆ ก็อย่างเช่น Abraham-Louis Breguet ซึ่งมีข้อมูลว่าเขาได้สร้างนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกให้กับราชินีแห่ง Naples ในปี 1810 ซึ่งนาฬิกาเรือนนี้มีชื่อว่า Breguet Watch Number 2639 ต่อมาในปี 1849 ได้ถูกนำมาซ่อมเป็นครั้งแรกโดยลูกสาวของ Joachim และ Caroline Murat ที่ชื่อ Louise Murat และซ่อมครั้งที่ 2 ในปี 1855 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่พบนาฬิกาเรือนนี้

แต่ถ้าหากอ้างอิงจาก Guiness World Records นาฬิกาข้อมือเรือนแรกถูกสร้างมาเพื่อ Countess Koscowicz ของฮังการี ในปี 1868 โดยช่างทำนาฬิกาชาวสวิส Patek Philippe ซึ่งแรกเริ่มทำมาเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ จนท้ายที่สุดนาฬิกาข้อมือก็เป็นสิ่งที่ทุกคนตามหาเพื่อใช้ในการดูเวลา รวมถึงใช้เป็นเครื่องประดับอีกด้วย

 

ชวนดูนาฬิกาข้อมือเรือนแรกในแต่ละประเภท

ชวนดูนาฬิกาข้อมือเรือนแรกในแต่ละประเภท

เมื่อมีจุดเริ่มต้นในการประดิษฐ์ คิดค้น และพัฒนานาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกไปแล้ว ก็ย่อมมีการผลิตนาฬิกาข้อมือในรูปแบบต่างๆ เพื่อมาตอบสนองความต้องการ สร้างความโดดเด่น แปลกใหม่ และตอบสนองต่อการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นให้กับวงการนาฬิกา ซึ่งแน่นอนว่ามีนาฬิกาเรือนแรกของแต่ละประเภทอีกด้วย

 

นาฬิกาข้อมือที่มีปฏิทินเรือนแรก

 

นาฬิกาข้อมือปฏิทินเป็นนาฬิกาที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้แบบครอบคลุม ไม่เพียงแต่ความสามารถในการดูเวลาแบบ 24 ชั่วโมง แต่นาฬิกานี้สามารถดูเวลาได้ทั้งวัน เดือน และปี ซึ่งผู้ที่ผลิตและคิดค้นนาฬิกาข้อมือประเภทนี้เป็นคนแรกก็คือ Patek Philippe โดยรุ่นนี้มีชื่อว่า Patek Philippe 97975 ที่สร้างขึ้นมาในปี 1925 ความสามารถของนาฬิกาตัวนี้ก็คือสามารถปรับได้แบบอัตโนมัติไม่ว่าจะเดือนที่มี 29 30 หรือ 31 วัน

 

นาฬิกาแบบโครโนกราฟเรือนแรก 

 

นาฬิกาแบบโครโนกราฟ (Chronograph Watch) เป็นนาฬิกาที่ไม่ได้มีดีแค่บอกเวลาเท่านั้น แต่นาฬิกาประเภทนี้สามารถใช้งานฟังก์ชัน จับเวลา หยุดเวลาได้ โดยการกดปุ่ม Louis Moinet ช่างทำนาฬิกาชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ริเริ่มการทำนาฬิกาแบบโครโนกราฟ 

แต่นาฬิกาโครโนกราฟที่ทำการตลาดครั้งแรกเลยก็คือถูกทำขึ้นโดย Nicolas Mathieu Rieussec ช่างทำนาฬิกาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อจับเวลาการแข่งม้าของพระองค์ในแต่ละรอบ 

 

นาฬิกาข้อมือแบบ GMT เรือนแรกของโลก

 

ด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป การเดินทางไปยังต่างประเทศเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างสะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการสับสนกับเวลาเมื่อ Timezone เปลี่ยนไป จึงได้มีการคิดค้นนาฬิกา GMT (Greenwich Mean Time Watch) มาเป็นตัวช่วย Glycine รุ่น Airman ในช่วงยุค 50s นับว่าเป็นนาฬิกา GMT เรือนแรกของโลกที่เริ่มทวีความนิยมอย่างมากในสงครามเวียดนาม เพราะมันถูกใช้โดยนักบินและเหล่าทหารจากสหรัฐ รวมถึงนักเดินทางอีกด้วย


นาฬิกาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นระยะเวลายาวนาน ด้วยประโยชน์ในการบอกเวลา และการแจ้งเตือนต่างๆ จากจุดเริ่มต้นของการใช้นาฬิกาแดด เพื่อดูเวลาผ่านการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ มาสู่วิวัฒนาการของนาฬิกาที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนถึงรูปแบบของนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกที่สร้างมาไม่เพียงเพื่อการใช้งาน แต่ยังใช้เป็นเครื่องประดับบนร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบนาฬิกาข้อมืออื่นๆ ที่หลายๆ คนใช้กันในปัจจุบัน

Back