เปิดตำรา มารยาทบนโต๊ะอาหารสากลที่ควรรู้ และข้อห้ามที่ควรหลีกเลี่ยง
มารยาทบนโต๊ะอาหาร มักเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม เพราะคิดว่าสนิทสนมกับเจ้าภาพอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตองอะไรมาก และมักทำตัวตามสบาย แต่รู้หรือไม่ว่ามารยาทบนโต๊ะอาหารสากลจะช่วยทำให้เรามีเสน่ห์ เป็นการให้เกียรติ และแสดงความใส่ใจให้กับเจ้าภาพได้อย่างดี อีกทั้งงานเลี้ยง หรืองานที่ต้องมีการรับประทานอาหารร่วมกันกับคนหมู่มาก จำเป็นต้องแสดงออกอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาภาพลักษณ์ หรือมารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ซึ่งมารยาทบนโต๊ะอาหารสากลจะมีอะไรที่ควรทำ หรืออะไรที่ไม่ควรทำบ้าง ไปดูกันเลย
มารยาท คือ กฎ หรือระเบียบที่ควรพึงปฏิบัติภายในกลุ่มคน หรือสังคมหนึ่งๆ ที่เป็นที่ยอมรับ หรือปฏิบัติร่วมกันอย่างเหมาะสม มารยาทบนโต๊ะอาหาร คือ ธรรมเนียม หรือข้อปฏิบัติของการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยยึดถือเป็นมารยาทตามหลักสากลที่ใช้กันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร หรือตามงานเลี้ยงต่างๆ
มารยาทบนโต๊ะอาหารสากลที่ควรรู้ไว้ มีดังนี้
มารยาทเมื่อไปถึงโต๊ะอาหาร สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
เมื่อได้รู้จักกับมารยาทที่ถูกต้องบนโต๊ะอาหารกันไปแล้ว ต่อมาก็มาดูสิ่งที่ไม่ควรทำที่หลายๆ คนอาจยังทำพลาดกันอยู่ ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
หากมีการส่งอาหารข้ามโต๊ะ หรือส่งสลับกันไปมา จะทำให้เกิดความวุ่นวาย และอาจทำให้อาหารหกเลอะเทอะบนจานของคนอื่นได้ ดังนั้น มารยาทที่ควรทำบนโต๊ะอาหาร เวลาส่งอาหารให้กับเพื่อนร่วมโต๊ะ คือ การส่งอาหารไปทางขวามือ หรือส่งทวนเข็มนาฬิกาเสมอ แต่มีข้อยกเว้น เช่น หากต้องการส่งให้เพื่อนร่วมโต๊ะที่นั่งถัดไปด้านซ้ายเพียงไม่กี่ที่นั่ง ก็ส่งไปทางซ้ายมือได้ โดยไม่ต้องจำเป็นต้องวนทางขวารอบโต๊ะ
แม้ว่าการหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ในคราวเดียว หลายคนอาจมองว่า จะทำให้สะดวกต่อการรับประทาน แต่ถ้ามองตามเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร สิ่งที่ควรทำในการทานอาหาร คือ ควรหั่นไป และทานไปเท่านั้น เพราะถือเป็นมารยาทที่สุภาพในการทานอาหารมากกว่าการหั่นในครั้งเดียว
การวางผ้าเช็ดปากตามมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบสากลจะไม่วางผ้าเช็ดปากไว้บนโต๊ะ เพราะถือเป็นสิ่งที่ไม่สุภาพ และไม่สะดวกต่อการใช้งาน ทำให้ผ้าเช็ดปากจำเป็นต้องวางอยู่ที่ตักเสมอ รวมถึงเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ก็ควรวางผ้าเช็ดปากไว้ที่ด้านซ้ายของจาน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้กับพนักงานหรือคนอื่นๆ ได้รับรู้
สำหรับมารยาทบนโต๊ะอาหารตามหลักสากล อย่างการวางช้อนส้อมก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติตามด้วยเช่นกัน หากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว จะไม่นำช้อนส้อมไปวางรวมกันไว้บนโต๊ะ แต่จะใช้การวางลงบนจานแทน มารยาทบนโต๊ะอาหารเกี่ยวกับการวางช้อนส้อมที่ถูกต้อง ทำได้ 2 แบบ คือ สไตล์คอนติแนนตัล (Continental) โดยวางช้อนส้อมไว้ให้เป็นรูปตัว V กลับหัว ให้มีดอยู่ด้านล่าง หันคมมีดเข้าด้านใน ช้อนส้อมให้วางทับด้านบนมีด และวางช้อนส้อมสไตล์อเมริกัน (American) วางช้อนส้อมเป็นแนวทแยงไปตามมุมขวาด้านบน ให้มีดอยู่ด้านบน หันคมมีดเข้าด้านใน และวางช้อนส้อมขนานไปกับมีด
การเลือกที่นั่งสำหรับรับประทานอาหาร ไม่ควรเลือกที่นั่งด้วยตนเอง เพราะตามธรรมเนียมแล้ว เจ้าภาพมักเป็นคนจัดที่นั่งให้แขกด้วยตัวเอง ดังนั้น เมื่อไปถึงที่โต๊ะอาหาร จึงควรปฏิบัติตามมารยาทบนโต๊ะอาหารด้วยการนั่งตามที่ที่ได้จัดไว้ให้
มารยาทที่ไม่ควรทำบนโต๊ะอาหาร คือการใช้โทรศัพท์ระหว่างทานอาหาร เพราะเป็นการรบกวนผู้ร่วมโต๊ะคนอื่น เป็นการดึงความสนใจของตัวเองให้จดจ่ออยู่กับโทรศัพท์ จนทำให้ไม่มีสมาธิพูดคุยกับผู้ร่วมโต๊ะท่านอื่น แต่หากจำเป็นต้องรับสายโทรศัพท์ หรือรอสายธุระสำคัญ ควรปิดเสียงการแจ้งเตือนทั้งหมด และใช้เป็นระบบสั่น รวมถึงการรับโทรศัพท์ ควรลุกออกจากโต๊ะอาหารไปรับสาย เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ร่วมโต๊ะคนอื่น
ไม่ว่าจะเป็นอาหารมื้อใด หรือตามงานเลี้ยงใดก็ตาม ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนเจ้าภาพ หรือผู้อาวุโส เพราะแสดงถึงความไม่ให้เกียรติแก่เจ้าของงาน จึงทำให้มีข้อธรรมเนียมสำหรับมารยาทในการร่วมโต๊ะอาหารกับเจ้าภาพ โดยให้เจ้าภาพ หรือผู้อาวุโสเป็นคนรับประทานก่อน จากนั้นผู้ร่วมโต๊ะค่อยเริ่มรับประทาน
หากไม่เตรียมความพร้อมก่อนการร่วมโต๊ะ และลุกไปที่อื่นบ่อยๆ ก็ถือว่าเป็นการเสียมารยาทต่อผู้ร่วมโต๊ะอาหาร ทางที่ดีควรเตรียมความพร้อมของตัวเองให้ดีก่อน เพื่อให้มื้ออาหารดำเนินได้อย่างไม่มีอะไรติดขัด แต่หากจำเป็นต้องลุกออกไป ก็ให้ขอตัวกับเจ้าภาพ หรือผู้ร่วมโต๊ะอย่างสุภาพ พร้อมกับลุกไปทางด้านขวามือของเก้าอี้ วางผ้าเช็ดปากไว้ที่ข้างจาน และเมื่อกลับมาที่โต๊ะ ให้ยกเก้าอี้ และเดินเข้าทางขวามือของเก้าอี้เพื่อนั่งต่อได้เลย
บทสนทนาบนโต๊ะอาหารมักเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคนที่นั่งใกล้กัน หรือพูดคุยกับเจ้าภาพ ดังนั้น การมีมารยาทบนโต๊ะอาหารที่ดี จึงไม่ควรขัดจังหวะบทสนทนาของผู้อื่น เช่น การเคี้ยวเสียงดัง การพูดคุยเสียงดังโดยไม่สนใจคนรอบข้าง นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะมีบทสนทนากับคนรอบข้างด้วยการยิ้ม หรือสบตาระหว่างพูดคุย เพื่อให้บรรยากาศบนโต๊ะอาหารเป็นไปด้วยความราบรื่น
มารยาทบนโต๊ะอาหาร คือ ธรรมเนียม หรือข้อปฏิบัติ สำหรับการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ซึ่งการปฏิบัติตามมารยาท ถือเป็นสิ่งที่ให้เกียรติ แสดงความสุภาพ และแสดงถึงความใส่ใจต่อผู้ร่วมรับประทานอาหาร ดังนั้นเมื่อมีสิ่งที่ควรทำแล้ว ก็ต้องมีสิ่งที่ไม่ควรทำบนโต๊ะอาหารด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าการทานอาหารแต่ละครั้ง เป็นการทานอาหารร่วมกับคนหมู่มาก หากแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม อาจทำผู้ร่วมโต๊ะเกิดความกระอักกระอ่วนใจ และทำให้เสียบรรยากาศในการรับประทานอาหารได้
นอกจากมารยาทบนโต๊ะอาหารแล้ว การแต่งกายให้เข้ากับสถานที่ที่เราไปรับประทานอาหารเอง ก็ถือเป็นการให้เกียรติเจ้าภาพได้เช่นกัน ควรแต่งการให้ถูกกาลเทศะ ไม่มากไปไม่น้อยไป ควรเลือกใส่เครื่องประดับอย่างนาฬิกา สร้อยคอ แหวน หรือต่างหูให้เข้ากับเสื้อผ้าที่ใส่ไปรับประทานอาหาร ก็เป็นตัวช่วยในการแสดงออกถึงความใส่ใจในการแต่งตัว และการให้เกียรติเจ้าภาพได้เป็นอย่างดี